พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์สงกรานต์ นิยมเสน ของ พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช

มัมมี่ของ ซีอุย (ปัจจุบันได้นำออกไปแล้ว)

นิติเวชศาสตร์เป็นการนำวิชาแพทย์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อหาสาเหตุการตายผิดธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์นี้จัดแสดง กะโหลกศีรษะมนุษย์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้มาจากเหยื่อที่ถูกฆาตกรรม นอกจากชั้นส่วนมนุษย์แล้วยังมีวัตถุพยานที่จากคดีด้วย ชิ้นส่วนเหล่านี้มาจากการรวบรวมของสงกรานต์ นิยมเสนในสมัยที่เขาทำงานอยู่

ภายในพิพิธภัณฑ์นี้มีการจัดแสดงศพของซีอุย ฆาตกรต่อเนื่องที่เป็นที่เป็นที่รู้จักมากในประวัติศาสตร์ไทย ซีอุยเป็นชาวจีนที่เกิดใน พ.ศ. 2470 ที่ตำบลฮุนไหล จังหวัดซัวเถา ประเทศจีน ซีอุยถูกระบุว่าใช้ แซ่อึ้ง[17][18] ซีอุยเข้ามาในประเทศไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเข้ามาทำงานเป็นคนสวนในเนินพระ จังหวัดระยอง

ซีอุยถูกตราหน้าว่าเป็นมนุษย์กินคนหลังถูกตั้งข้อหาว่าทำการฆาตกรรมเด็ก 7 คดี[19] ซีอุยถูกจับกุมที่จังหวัดระยองใน พ.ศ. 2501 หลังกำลังพยายามเผาทำลายเหยื่อรายสุดท้าย และออกมายอมรับว่าได้ฆ่าเหยื่อรายสุดท้ายจริง[20][21]

การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นกินเวลา 9 วัน ก็พิพากษาประหารชีวิต แต่ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตเพราะจำเลยยอมรับสารภาพ แต่ตำรวจอุทธรณ์เพราะเห็นว่ามีหลักฐานเพียงพอ[22] เขาจึงถูกศาลอุทธรณ์ตัดสินประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2501[19] และมีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2502 และหลังจากถูกประหารชีวิต โรงพยาบาลศิริราชได้ขอศพเพื่อไปใช้ในศึกษากายวิภาค[5] จากนั้นจึงถูกนำไปจัดแสดงพร้อมติดป้ายอธิบายว่า ซีอุย แซ่อึ้ง (มนุษย์กินคน)[23][24]

ผู้ใหญ่มักจะนำชื่อซีอุยมาขู่ให้เด็ก ๆ กลัว ซึ่งมักจะมีประโยคขู่เด็กที่ว่า "ระวังซีอุยจะมากินตับ"[25] หลังมีกับการเรียกร้องของชาวอำเภอทับสะแก[26] ประกอบกับแคมเปญรณรงค์ให้มีการนำร่างซีอุยออกจากพิพิธภัณฑ์ศิริราชบนเว็บไซต์ Change.org ช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562[19] ทำให้ทางโรงพยาบาลได้นำศพออกจากพิพิธภัณฑ์ตามคำเรียกร้องหลังจัดแสดงมานานกว่า 60 ปี[19] ชาวอำเภอทับสะแกยื่นหนังสือร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าพวกเขาต้องการฝังศพให้ซีอุยอย่างเหมาะสม[27] ครอบครัวของซีอุยไม่มีการเสนอตัวเพื่อนำศพไปดำเนินพิธีการทางศาสนา ทำให้กรมราชทัณฑ์จะเป้นธุระนำร่างซีอุยจากพิพิธภัณฑ์ไปทำการฌาปนกิจที่วัดบางแพรกใต้ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563[27][28]

ใกล้เคียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ลุยเซียนา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช http://www.khaosodenglish.com/culture/2016/10/30/a... http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/2454... http://www.okls.net/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?News... https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifest... https://www.bangkokpost.com/lifestyle/whats-on/621... https://www.bangkokpost.com/thailand/general/19544... https://www.bangkokpost.com/thailand/special-repor... https://www.bbc.com/thai/thailand-48264250